Monday, November 26, 2007

หนังสือคู่มือการทำโมเดล โดย PMCT


เรียบเรียง และ วาดภาพประกอบโดย วิเชียร อภิชาติวรภันธุ์

http://good-times.webshots.com/album/561570119OpySGs

หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือเล่มเล็กขนาดการ์ตูนเล่ม ออกมาเมื่อนานมาแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เนื่องในงานประกวดโมเดลครั้งที่ 7 ซึ่งจัดโดยชมรม PMCT และ ห้างเซ็นทรัล แนวความคิดในการทำหนังสือนี้มีส่วนช่วยอย่างมากมายในการพัฒนาทักษะการทำโมเดลของเด็กๆ แม้กระทั้งผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เพราะในเนื้อหาที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นเป็นเทคนิคขั้นพื้นฐานที่สำคัญ ไม่ว่าผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง เป็นหนังสือที่มีสาระประโยชน์มากแม้ในสมัยปัจจุบัน เป็นเหตุที่ผมนำมาลงอีกครั้งเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ และยังเป็นการไม่หลงลืมคุณค่าของคนรุ่นหนึ่งที่เสียสละตนทำงานเพื่อส่วนรวมอยู่อย่างเงียบ ๆ
.
หนังสือเล่มนี้ผมได้รับมาจาก อ.พินิจ โพธิสุข เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 (ช่วงเรียนม.ปลาย) พอดีไปเห็นอยู่ในกองหนังสือเก่าของอาจารย์ เมื่อเห็นว่าผมไม่มีหนังสือเล่มนี้ อ.พินิจ เลยยกให้ แล้วบอกว่าชมรมของอาจารย์ทำแจกในงานประกวดเมื่อหลายปีก่อน อาจารย์ก็แปลกใจว่าทำไมผมยังไม่มีอีก (ใครๆในสมัยโน้นเขาก็มีกันทั้งนั้น : สำหรับอ.พินิจ ท่านเป็นทั้งผู้สอนวิชาศิลปะ และวิชาโมเดล(นอกหลักสูตร)ให้กับผมตั้งแต่สมัยมัธยม)
.
ภายหลัง 22ปีที่หนังสือเล่มนี้ออกมา เกิดกลุ่มชมรมโมเดลขึ้นมาอีกหลากกลุ่ม บางกลุ่มก็ล้มไปบ้างแล้ว มีกลุ่มใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกเป็นระยะ อย่างไม่น่าเชื่อว่าไม่เคยมีใครคิดทำหนังสือที่ดีแบบนี้ออกมาอีกเลย ?
"
อันนี้มีเป็นประวัติบางส่วนของPMCT http://www.skn.ac.th/skl/project/model83/story1.htm
ไม่ทราบว่าท่านผู้เขียนเป็นใคร แต่คิคว่าน่าจะเป็นการเรียบเรียงบางส่วนมาจากนิตยสาร HobbyModel (เท่าที่นึกออก) หากท่านเจ้าของมาเห็น หรือท่านใดทราบก็ช่วยแจ้งชื่อผู้เขียนมาด้วยจะได้เผยแพร่ต่อไปครับ
"
26/11/05




ส่วนเพิ่มเติม(23/10/10) :ตามท้ายบทความเดิมผมได้อ้างอิงถึงบทความในเวปโดยนักเขียนนิรนามแห่งหนึ่ง

http://www.skn.ac.th/skl/project/model83/story1.htmเพื่อการป้องกันข้อมูลสูญหายในอนาคต ผมเลยยกข้อความเดิมทั้งหมดมาไว้ที่นี้แล้ว มีข้อเขียนดังนี้...

"สำหรับวงการโมเดลไทยนั้น มีเรื่องราวพอสังเขปคือ โมเดลเริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว คือประมาณปี พ.ศ. 2498 โดย

เริ่มจากนักเรียนนอกในสมัยนั้นหอบหิ้วกันเข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย จากปากต่อปากกลุ่มผู้เล่นเริ่มจะใหญ่ขึ้นจนมีโมเดลประเภทพลาสติกประกอบเข้ามาจำหน่าย ปะปนกับของเล่น ซึ่งคงจะแผ่ขยายเข้ามาพร้อมๆกับวัฒนธรรมตะวันตก โดยจะวางขายอยู่ตามร้านขายของเล่นทั่วๆไป ซึ่งไม่มีความละเอียดเท่าไรนัก บางแบบยัง ไม่มีการใส่กล่องแต่จะใสถุงพลาสติกเฉยๆ ต่อจากนั้นจึงค่อยๆแพร่ขยายเข้าสู่ห้างสรรพสินค้านใวลาต่อมา แต่สมัยนั้นถึงแม้จะมีผู้เล่นไม่มาก แต่ก็ยังถือได้ว่าโมเดล หรือชุดจำลองได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยแล้ว วงการโมเดลไทยเริ่มจะเป็นรูปร่างเมื่อปะมาณปี 2519 โดยกลุ่มคนผู้ที่สนใจหลายๆคนที่พบปะกันตามร้านขายโมเดลได้ก่อตังชมรมชุดพลาสติกจำลองแห่งประเทศ ไทย หรือชือย่อว่า PMCT (PLASTIC MODELLER CLUB OF THAILAND) เพื่อรวบรวมกลุ่มผู้สนใจงานอดิเรกประเภทนี้ให้แพร่หลายแก่ผู้สนใจทั่วไป และเพื่อ ยกระดับวงการโมเดลของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับสากล แต่ทว่ายังมีอีกหลายฝ่ายมองว่าโมเดลหรือ พลาสติกจำลองเป็นสินค้าฟุ่มเฟื่อย เป็นของเล่นเสียมากกว่า ที่จะเป็นงานอดิเรก ซึ่งทางชมรม PMCT ต้องต่อสู้ในเรืองนี้เป็นอย่างมาก กว่าจะผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นมาได้ และด้วยความมุ่งมั่นของชมรมนี้ ได้มีการออกหนังสือ โมเดลฉบับแรกของเมืองไทยคือ หนังสือ "โลกจำลอง อันเป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวของการประกอบชุดพลาสติกจำลอง และบทความบทวิจารย์ชุดจำลองต่างๆ มากมาย แต่ด้วยกลไกทางการตลาด หนังสือโลกจำลองของทาง ชมรม PMCT จึงออกได้แค่เล่มเดียวเท่านั้นนอกจากหนังสือโลกจำลองของทาก PMCT แล้ว ทาง ชมรมยังทำหนังสือแนะนำการประกอบพลาสติกจำลองออกมาแจกจ่ายแก่ผู้สนใจทั่วไปอีก 1 เล่ม แต่ปัจจุบันหนังสือสองเล่มนี้หายากมาก และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนั้นเองในปี พ.ศ. 2522 ทางชมรม PMCT ได้เริ่มให้มีการจัดการประกวดชุดพลาสติกจำลองขึ้นเป็ฯครั้งแรกในประเทศไทย โดยการ สนับสนุนของห้างเซ็นทรัลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันถึงแม้ว่าทางชมรมจะไม่ได้เป็นคณะกรรมการแล้ว แต่การประกวดก็ยังคงนำเนินต่อเรื่อยมา ประมาณปี 2529 หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ "สมรภูมิ" อันเป็นหนังสือที่ว่าด้วยข่าวคราวในแวดวงการทหารทั่วโลกได้เปิดคอลัมภ์ "โลกหุ่นจำลอง" และด้วยคอลัภ์โลก จำลองนี้เองเป็นเหตุให้หลายคนหันมาให้คมสนใจเล่นโมเดลกันมากขึ้น จนในเวลาต่อมาหนังสือ"สงคราม" อันเป็นหนังสือแนวเดียวกับสมรภูมิก็ได้เป็นคอลัมภ์เทคนิค ชุดจำลองตามขึ้นมาในภายหลัง ในนเมื่อหลายคนเริ่มให้ความสนใจโมเดลหรือชุดจำลองมากยิ่งขึ้น การจัดงานประกวดและกิจกรรมต่างๆที่ส่งเสริมเกี่ยวกับงานอดิเรกประเภทนี้ได้รับการสนับสนุน จากห้างสรพพสินค้าหลายแห่งและร้านขายโมเดลหลายๆร้านในเวลานั้น แต่ว่าตอนนั้นนานๆทีจะมีสินค้าตัวใหม่ๆมาให้เล่น ต้องอาศัยสั่งซื้อจากทางเมืองนอกหรือไม่ก็ ไปหอบหิ้วมาจากฮ่องกงหรือสิงคโปร์จึงจะได้ของใหม่ๆมาเล่นกัน ในราวๆปี 2594 ห้างธนันต์ได้ทำการรวบรวมสมาชิกและลูกค้าที่รู้จักหลายๆท่าน รวมตัวตั้งกลุ่มที่ชื่อว่า "TPC" (THAI PLASTIC MODEL CLUB) เพื่อช่วยกัน สร้างสรรค์วงการโมเดลในช่วงนั้นให้ดียิ่งขึ้น และยังได้ทำการเข้าจัดทำคอลัมภ์ต่อเนื่องของโลกหุ่นจำลองในสมรภูมิในปีเดียวกันนั่นเอง กิจกรรมที่ TPC และห้าง ธนันต์ได้ร่วมกันจัดตั้งมีอยู่หลายงาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อวงการในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างมาก แต่หลังจากที่สมาชิกทุกคนเห็นว่าภาพพจน์ของกล่ม TCP ในสายตาของบุคคลทั่วไปมองว่า TPC คือกระบอกเสียงของร้านธนันต์ สมาชิกกลุ่ม TPC หลายคนจึงได้ขอแยกตัวออกจากกลุ่มและได้จัดตั้งกลุ่ม SMAC (SCALE MODELLING ART CLUB) หรือสมาคมส่งเสริมศิลปการประกอบชุดพลาสติกจำลองแห่งประเทศไทย ขึ้นในปี 2535 และได้เข้าทำการจัดทำการเรื่อง การประกวดชุดพลาสติกจำลองของห้างเซ็นทรัล ครั้งที่ 13 ต่อจากกลุ่ม PMCT ซึ่งหมดวาระในการเป็นกรรมการในปีเดียวกันนั้นเอง และยังได้เข้าจัดทำคอลัมภ์ โลกหุ่นจำลองในสมรภูมิต่อจากกลุ่ม TPC เดิมอีกด้วย (ปัจจุบันถึงแม้ว่ากลุ่ม SMAC จะสลายตัวไปแล้วแต่สมาชิกกลุ่มบางคนได้กระจายออกไปทำหนังสือโมเดล หลายๆฉบับในปัจจุบันเช่น สมรภูมิ, HOBBY MODEL, A CLUB) ซึ่งในระยะเวลานั้นเองเป็นจุดหักเหของวงการโมเดลยุคใหม่ มีการเกิดของร้านค้าโมเดลมาก มายและประกอบกับมีวัสดุชนิดใหม่สองชนิดที่ถูกทำเป็นโมเดลแพร่หลายเข้ามาในหมู่นักต่อชุดจำลองของเมืองไทย คือ "ซอฟท์ไวนิลและเรซิ่น" วึ่งในตอนนั้น โมเดลทั้งสองชนิดนี้ยังไม่ค่อยจะเป็นที่แพร่หลายมากเท่าไรนัก และสนนราคาในตอนนั้นยังเป็นราคาที่แพงมาก แพงกว่าในเวลานี้เกือบ 10 - 20 เท่าตัว แต่ด้วยการ ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับโมเดลประเภทต่างๆของหลายๆฝ่าย โมเดลทั้งสองประเภทนี้จึงได้ค่อยๆเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ร้านค้าที่หน่ายโมเดลประเภทนี้จุดขายในช่วงระยะเวลานั้นจะอยู่ที่สะพานเหล็กและร้านที่ของของจากต่างประเทศ ซึ่งโมเดลบางแบบยังเป็นของก๊อปปี้ที่ผลิตจาก ไต้หวันและฮ่องกงซึ่งถึงแม้ว่าจะราคาถูกกว่าของแท้ แต่เมื่อนำเข้าในเมืองไทย ก็เห็นว่าเป็นของแปลกและใหม่ ราคาจึงสูงและแพงอย่างน่ากลัว พอดีกับช่วงนั้นมี หนังสือที่เกี่ยวกับโมเดลที่ทำโดยคนไทยออกมาอีกสองเล่มคือ A CLUB และ HOBBY GAME อันเป็นหนังสือโมเดลที่ว่าด้วยเรื่องราวของโมเดลประเภทต่างๆ รวม ไปถึงโมเดลประเภทการาจ คิท, ซอฟไวนิล, เรซิ่นนี้รวมอยู่ด้วย ผนวกกับร้านค้าต่างๆเริ่มนำสินค้าทั้งสองชนิดนี้เข้ามาขายมากยิ่งขึ้น ราคาถึงได้ลดลงในเรื่อยๆ จน ถึงขั้นปัจจุบัน คนไทยสามารถผลิตงานโมเดลจากซอฟท์ไวนิลได้เองแล้ว และบางที่ยังไดสร้างสรรค์งานโมเดลโดยฝีมือคนไทย ตั้งแต่ตั้งเองจนถึงผลิตออกมาเป็น สินค้าออกจำหน่าย วงการโมเดลไทยถ้านับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน วงการโมเดลของเราได้ฟันฝ่าอุปสรรคมาเกือบ 40 ปีแล้ว ถ้าหากมองในแง่ของการเจริญเติบโตทั่งในด้านสินค้าและ ปริมาณคนเล่นนั้น จะเห็นได้ว่าเพิ่มจากเมื่อก่อนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของตัวสินค้าที่ตอนนี้มีให้เลือกเล่นมากมาย หลายชนิดหลายประเภท จากอดีตมีร้าน เพียง 2-3 ร้าน จนถึงปัจจุบันมีมากถึง 60-70 ร้าน ซึ่งยังไม่รวมร้านที่อยูต่างจังหวัด อีกทั้งคนเล่นยังขยายวงกว้างออกไป ไม่จำกัดอยู่ในกลุ่มคนใดกลุ่มคนหหนึ่ง อีกต่อไป แม้ว่ายังมีคนบางกลุ่มมองว่าโมเดลเป็นแฟชั่นที่นิยมเพียงชั่วครู่ชั่วยามไม่จีรังยั่งยืนเหมือนงานอดิเรกประเภทอื่น แต่ถ้ามองกันจริงๆแล้วผู้ที่เล่นเท่านั้น สามารถตอบคำถามนี้ได้ โมเดลไม่ใช่แฟชั่น ไม่ใช่สิ่งเชิดหน้าชูตา แต่เป็นสิ่งที่ทุกษาคนสมัครใจที่จะเลือกเล่นเลือกทำ มิฉะนั้นแล้วระยะเวลาเกือบ 40 ปี คืออะไร 40 ปี ที่วงการโมเดลยืนอยู่ข้างนักเล่นน้อยใหญ่มาจนถึงปัจจุบัน และในอนาคตเราเชื่อว่าวงการโมเดลไทยคงจะไปได้ดีในด้านของผู้เล่นและสินค้าที่ผลิตเอง เราหวังไว้ อย่างนั้น"

Tuesday, November 13, 2007

2th THAILAND HOBBY MODEL CONTEST 2007
Report part2



เครื่องบิน มาตราส่วน 1/48

  • รางวัลที่1 ภูมิ แพทยกิจ ผลงาน SU-27 ของ อคาเดมี่

  • รางวัลที่2 โฆสิต หิริโอตัปปะ ผลงาน Lightning ของ แอร์ฟิก

  • รางวัลที่3 สุรเกียรติ แสงสุข ผลงาน Do 335 ของ ทามิยะ


เครื่องบิน มาตราส่วน 1/72

  • รางวัลที่1 พงษ์ศักดิ์ ตั้งสิทธประเสฎ ผลงาน A-7D ของ ฟูจิมิ


  • รางวัลที่2 สุรเกียรติ แสงสุข ผลงาน A-4 Skyhawk ของ ฟูจิมิ

  • รางวัลที่3 อังกูร บุญญะ ผลงาน RF-5A ของ อิตแลรี่


2th THAILAND HOBBY MODEL CONTEST 2007

Report part1

รายงานผลการประกวดครั้งล่าสุดที่เพิ่งผ่านไปเมื่อวานโดยครั้งนี้ก็มีคนส่งกันพอสมควร ประมาณหนึ่งร้อยชิ้น (น้อยกว่าครั้งก่อน) ผมเองกับพี่ ๆ น้อง ๆ หลายท่านก็ได้ร่วมสนุกในครั้งนี้ด้วย น่าเสียดายที่หลายท่านทำงานยังไม่เสร็จเลยไม่ได้เข้าร่วมประกวด
'
ภาพที่ลงนี้ถ่ายในงานที่แสงไม่ดีเท่าที่ควรรูปเลยไม่สมบูรณ์นัก แต่หวังว่ามีประโยชน์แก่คนอื่น ๆไว้ศึกษาหาข้อเปรียบเทียบจุดดีจุดด้อยของงานเพื่อการพัฒนางานของตนต่อไป

หากท่านเจ้าของผลงานมีรูปถ่ายที่มีคุณภาพดีกว่านี้ ก็ให้ช่วยส่งมาที่อี-เมล์ของผมได้เลยจะได้ทำการเปลี่ยนเป็นรูปที่ดีกว่า เพื่อเป็นประโยชน์แก่การเผยแพร่ความรู้ต่อไป และ ชื่อบางท่านอาจสะกดผิด หรือ ไม่มีนามสกุล ทั้งนี้เนื่องป้ายทะเบียนผลงานที่เป็นลายมื่อเขียนค่อนข้างหวัด ผมอาจจะคาดเดาผิดต้องขออภัยไว้นะที่นี้ด้วย


ในครั้งนี้ขอรายงานผลสองประเภทก่อนคือ


ยุทธยานยนต์ มาตราส่วน 1/35

  • รางวัลที่1 อมรฤทธิ์ (ไม่ทราบนามสกุล ขออภัยอ่านไม่ออก) ผลงาน Marder III ทามิยะขนาด 1/35



  • รางวัลที่2 ลักษณ์ คูณสมบัติ ผลงาน Char B1 (German Service) ทามิยะขนาด 1/35










  • รางวัลที่3 ทยารัตน์ เดชหาญ ผลงาน T-34 ทามิยะขนาด 1/35




บุคคลจำลองไม่จำกัดมาตราส่วน

  • รางวัลที่1 อังกูร บุญญะ ทหารมอแตอร์ไซค์เยอรมัน ของทามิยะขนาด 1/35



  • รางวัลที่2 เกรียงไกร เผ่าจินดา German motorcycle ทามิยะขนาด 1/35

  • รางวัลที่3 นพดล ปิยะขันธ์ ไม่บอกชื่อผลงาน และยี่ห้อ ขนาด 1/16







บทสรุปการดีดสีโคลน

ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ด้วยการผสมผสานระหว่างเทคนิคการปัดแห้งแบบกลับ และการดีดสีโคลนด้วยแปรงสีฟันเด็ก จะให้การแต่งเก่าดูสมจริงมากกว่าการ พ่นไล่ด้วยปากกาพ่น หรือการระบายสีด้วยพู่กันแบบเดิม

หวังว่าข้อเขียนทั้งสามตอนนี้จะมีส่วนช่วยในการปฏิบัติงานด้านโมเดลกับผู้อ่านมากยิ่งขึ้น
ผมเองมีความเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่คิดว่างานลักษณะนี้ยากมากจนเกินทำ ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย มันก็มีความยากง่ายไม่ต่างจากเทคนิคเดิม ๆ ที่เราทำ ๆ กันอยู่แล้ว แต่ความยากแท้จริงคือการยึดติดกับกับตัวเราเองเสียมากกว่า โดยไม่กล้าที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดเดิม หรือการก้าวย่างเข้าสู่ขอบเขตใหม่ ๆ ต่างหาก สุดท้ายตัวเรานี้แหละคือตัวขวางกันการพัฒนาของตนเอง

สำหรับผมแล้วการทำงานโมเดล เป็นทั้งการทดลอง และ การผจญภัย ในคร่าเดียวกัน ทุก ๆ ครั้งที่ทำงานใหม่ ทำเทคนิคใหม่ ๆ ในใจจะต้องรู้สึกตื่นเต้น สนุกสนาน ทุกครั้งไป (เป็นสีสันให้กับชีวิต)






โคลนกระเด็น
ขึ้ดินกระดอน


เทคนิคนี้นำไปสาธิตที่งาน MMC3 อีกเช่นกัน ดองไว้นานใกล้จะมีงานครั้งใหม่แล้วเลยรีบเอาออกมาเขียน(ฮ่าๆ) เป็นเทคนิคที่ง่ายแบบเส้นผมบังภูเขา หรือหลายคนคิดออกแต่ไม่กล้าทำ เพราะมันดูโหด ป่าเถื่อน ที่เดียว แต่ผมว่า เทคนิคนี้ใช้ได้ผลมาก โดยวิธีการอื่นทดแทนไม่ได้เลย โคลนกระเด็น มันก็ต้องกระเด็นจริง ๆ สิ วิธีการง่าย เริ่มเตรียมอุปกรณ์


  1. สีฝุ่นมิก (สีอื่น ๆ เช่น สีทามิยะ สีฝุ่นทั่วไป ตามถนัด)
  2. ถ้วยผสมสี
  3. แปรงสีฟันเด็ก


ใช้สีน้ำตาล+สีเนื้อ (Light Dust) อย่างละเท่า ๆ กัน ผสมกับน้ำ


แปรงเด็กจะมีขนาดขนสั้นด้ามจับสั้น จับถนัดมือ และรัศมีวงสีที่ดีดออกไปแคบกว่าแปรงของผู้ใหญ่


ละอองสีจะออกมาเล็ก รัศมีวงแคบ ก่อนดีดจริงก็ซ้อมหลายรอบ ๆ


ดีดจริงก็ใช้กระดาษทิชชู่ช่วยบังในจุดที่ไม่ต้องการ เช่นด้านบนรถ

เอารถวางนอนตะแขงข้างจะเป็นต่ำแหน่งที่ทำงานง่ายที่สุด จุดที่ควรมีรอยโคลนกระเด็นก็มีหลายจุดดังนี้
  1. ด้านหน้ารถ
  2. ท้ายรถ
  3. ทางข้างรถซ้าย ขวา ติดกับข้างท้าย

ต่ำแหน่งด้านข้างซ้ายท้าย


ตำแหน่งท้าย

สาเหตุที่ผมใช่สีฝุ่นก็เพราะ เช็ดออกได้หากทำงานพลาด ก็ล้างทำใหม่

ตัวทดสอบนี้เป็นการทคลองเอารถถังใหม่มาดีดสีเลย มันก็อาจดูแรงตัดตัวรถมากเกินไป เวลาทำจริง ๆ ก็ต้อง ทำขั้นตอนการเวทเทอริ่ง (แต่งเก่า) อื่น ๆ ให้สร็จเสียก่อนค่อยดีดโคลนมันจะออกมาได้พอดี อย่างคันสาธิตนี้ผมค่อยออกมาแต่งเก่าที่หลัง (คันสมบูรณ์จะนำเสนอต่อไปครับ)



Tuesday, November 6, 2007

Negative Drybrush :
การปัดแห้งแบบกลับ

เนกาทิฝ ดรายบรัช หรือ การปัดแห้งแบบกลับ เกิดจากการทดลองหาเทคนิดของผมเมื่อ 7-8 ปีก่อน ส่วนชื่อ เนกาทิฝ ดรายบรัช มาตั้งเอาภายหลังจากเริ่มออกหนังสือ Mast ในช่วงพ.ศ. 2544

ปัจจุบันพวกฝรั่งก็ใช้เทคนิคแบบนี้กันมาก ที่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าผมคิดก่อนเขาหรอกนะครับแต่เป็นเรื่องของต่างคนต่างคิด ของแบบนี้ทำเยอะมันก็จะเข้าถึงศาสตร์ไปเอง สมัยนู้นเหมือนจะเป็นเทคนิคลับที่ฝรั่งเก่งๆไม่ค่อยเปิดเผย(เป็นการวิเคราะห์ของผมเอง) สำหรับผู้ที่ติดตามงานเขียนของผมเป็นประจำคงรู้จักเทคนิคนี้กันดีอยู่แล้ว

เทคนิคนี้ก็คือการใช้สีฝุ่นเข้ม ๆ ปัดแห้งตัวงานนั้นเอง ในที่นี้ส่วนตัวผมนิยมสีดำของเกรยอง เหมาะกับการทำยุทธยานยนต์มากที่สุด ให้ความรู้สึกว่าผ่านการใช้งานมานาน โดยเฉพาะตัวทะเลทราย-พรางหิมะจะให้ผลดีมาก (ดีกว่าการวอชสีเข้มให้อัดไปตามซอก ซึ่งจะไม่มีทางให้เกิดความรู้สึกว่ามันอยู่ในทะเลทรายได้เลย)

เกรยองแท่งนำมาฝนกับกระดาษทราย เพียงเล็กน้อยก็พอ

เคล็ดลับของพู่กัน ต้องเป็นพู่กันกลมขนอ่อนเบอร์10ขึ้นไปจะทำให้การปัดสีได้น้ำหนักที่นุ่มนวล (รอยปัดจะได้ไม่แรงหรือชัดเกินไป)

จับเกรยองผ่านกระดาษหรือถุงเล็ก ๆ ป้องกันสีเปื้อนมือ ไม่เช่นนั้นสีจะติดมือไปโดนงานก็จะเปื้อน


ใช้พู่กันปัดเบา ๆ บนสีฝุ่นดำที่ติดอยู่กระดาษทราย (นิดเดียวก็พอ)


ปัดเบา ๆ ทั่วชิ้นงาน แบบกวาดบ้านเลย ซักรอบหนึ่งก่อนรอบถัดไปค่อยมาดูว่าจุดไหนเราอยากเน้นหน่อยก็ปัดซ้ำอีกหลายๆเทียวมันก็จะค่อย ๆ เข้มขึ้น

รูปใกล้ ๆ จะเห็นได้ชัดเจนว่าตามขอบมุมจะขึ้นเป็นสันสีเข้ม ๆ ผลอีกอย่างของเทคนิคนี้คือรอยสันเข้ม ๆ หากดูไปจะคล้ายรอยถลอกขนาดเล็ก



หมายเหตุ: ต้องขออภัยไว้ในที่นี้ด้วยที่ภาพชุดนี้อาจดูไม่ค่อยเรียบร้อยนัก เพราะถ่ายทำกันสด ๆ ระหว่างการสาธิตในงานเชอร์แมนเดย์(MMC3เมื่อต้นปีพ.ศ.2550)



หมุน ขยับ ขยับ หุ่นไม้...กลไกได้อารมณ์
ที่ TCDC (ตั้งอยู่ในเอ็มโพเรียม)


อาทิตย์ก่อนไปกินข้าวกลางวันกับลูกค้าที่นั้นพอดีเลยได้แวะไปดูนิทรรศการอีกครั้ง และโชคดียิ่งกว่าที่มีกล้องติดไปด้วยเลยได้ถ่ายมาให้ชมกันเรียกน้ำย่อย ครั้งนี้เป็นงวดที่สอง(งวดแรกไปกับคุณmoondog) งานดีมากได้อารมณ์สนุกสนานงาน หลายชิ้นเนี้ยบมาก ทุกอย่างล้วนทำด้วยไม้กับทองเหลือง มีอะไรหลายอย่างสามารถเทียบเคียงกับงานโมเดลได้สบาย ใครได้เห็นก็น่าจะได้มีความคิดใหม่ๆมาพัฒนางานตัวเอง

ชิ้นเด่นๆเป็นงานของพอล สปูนเนอร์ ที่งามจับใจ ทั้งเนื้อหา กลไก และเทคนิคการแกะสลักไม้ คล้ายภาพประกอบที่มีชีวิต ไม่แปลกใจเลยที่เขามีพื้นฐานมาจากการเรียนมาจากfine art ส่วนนักสร้างท่านอื่นๆก็สร้างได้ดีไม่แพ้กัน

งานนี้จะหมดสิ้นเดือนกันยายนนี้แล้ว ใครพลาดผมบอกได้เลยว่าคุณจะเสียใจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.tcdc.or.th/eventse.php?act=view&id=133




"u-boat" ชิ้นที่ผมรักที่สุดในงาน พวกเล่นโมเดลเห็นรับรองต้องยิ้ม

"โจรสลัดพายเรือ" จะที่มีก้างปลากระโดดตาม และมีนกโครงกระดูกบินอยู่เหนือหัว

กรีกส่งของ "จานด่วนเจ้าแรกของโลก" จากคำบรรยายในงาน


"ฝันร้าย" ชิ้นเด่น และใหญ่ที่สุดในงาน ของพอล สปูนเนอร์