Tuesday, November 6, 2007

การแต่งสีเก่าโมเดลยุทธยานยนต์
อย่างเป็นขั้นตอน
:Sturmgeschutz III Ausf B
  • Tamiya 1:48 scale plastic kit
  • Modeled by Luck (M2K)
  • first publish: MAST magazine Vol.60 (Jan2007)
นี้เป็นบทความแนว how to ครั้งแรกของบล็อกแห่งนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่หัดเล่นโมเดล หรือเล่นได้ไม่นานแต่อยากยกระดับผลงานให้ดียิ่งขึ้นเช่นมืออาชีพ รับรองว่าจะมีบทความที่เป็นประโยชน์มาลงให้อ่านกันทุกเดือน นอกจากผมแล้วยังมีญาติท่านอื่นๆที่ผมได้เชิญมาเขียนเพื่อเปิดเผยกลเม็ดเด็ดพรายอีกเพียบขอให้ติดตามกัน ส่วนท่านที่มีผลงานเด็ดๆก็อย่าลืมส่งมาให้ผมได้ ykkart@gmail.com จะได้นำมาลงในนี้หรือนำไปลงในคอลัมม์โมเดลจากทางบ้านใน POWER UP ต่อไป

หลังจากประกอบทุกอย่างเข้ากันทั้งหมดแล้วก็รองพื้นด้วยสีรองพื้นเบอร์500 ใช้เป็นจากกระป๋องก็ไม่เลว แต่ต้องพ่นห่างไม่น้อยกว่าหนึ่งฟุต

สีเทาเยอรมันใช้Mr.color เบอร์ 40ผสมขาวอีกราว10% ให้ทั่วลำตัวด้านบน ช่วงล่างแค่บางไม่ต้องหนาเพราะจะพ่นสีน้ำตาลทับ

ช่วงล่างทั้งหมดตั้งแต่กราบข้างลงไป ใช้สีน้ำตาล Mr.color เบอร์43 พ่นฟุ้งมาถึงกึ่งกลางลำตัวเป็นเหมือนฝุ่นที่ฟุ้งมาเกาะตัวรถ


ช่วงล่างต่ำลงจะเป็นสีน้ำตาลอย่างชัดเจน พอไล่มาทางข้างบนต้องจางลงอย่างเป็นธรรมชาติ


มุมมองทางด้านหน้าจะเห็นการไล่จับตัวของสีน้ำตาลอย่างชัดเจน


นำสีฝุ่นมิก light dust ตักใส่ถ้วย



ผสมกับน้ำเปล่าให้มีสีซัก10%ก็พอ จะดูเป็นสีที่จางจนดูว่าเกือบไม่มีสี (สามารถผสมกับทินเนอร์ หรือน้ำมันสนก็ได้ครับ แต่เพื่อสุขภาพของตัวเองผมเลยใช้น้ำดีกว่า)

ทาให้ทั่วช่วงล่าง



โชกๆไปโลด ไม่ต้องกลัวเสียโดยเฉพาะที่ปีกนกและล้อ


รอจนแห้งจะเกิดคราบสีทั่วไปหมด ( ตอนเปียกจะมองไม่เห็นสีเลย)


คราบสีฝุ่นก่อนเกลี่ยด้วยไม้สำลี

สีฝุ่นจะขึ้นเป็นหย่อมๆดวงๆดูไม่เข้าท่าแต่ไม่ต้องกังวล


ใช้ไม้สำลีเช็ดส่วนที่ไม่สวยออก เกลี่ยสีให้กลืนกันได้แบบสบายๆ


หลังคาก่อนลงสีฝุ่น


ลงด้วยสีฝุ่นlight dust +drak mud ผสมกันในอัตรา 2:1 นำมาปัดไปให้ทั่ว โดยเฉพาะตามซอกมุม ผสมสีไว้เยอะเลยอย่าเสียดาย ใช้ให้เต็มที่งานจะได้ออกมาดี ตามหลังคาจะเป็นขี้ดินที่เกิดจากคนเดินขึ้นเดินลงนั้นเอง

ภาพรวมของการปัดฝุ่น

ด้านหน้าที่ปัดสีฝุ่นแล้ว


หม้อพักท่อไอเสียใช้สีฝุ่นdrak mud ผสมน้ำน้อยๆทาเป็นสนิมได้เลย นอกจากสีเหมือนแล้วสีฝู่นยังให้ลักษณะผิวหยาบเป็นเม็ด



อุปกรณ์รอบคันทาด้วยสีทามิยะอีนาเมล หรือจะใช้สีอะครายลิกก็ไม่เลว ลงด้วยสีฝุ่นlight dust +drak mud ผสมกันในอัตรา2:1 ผสมน้ำทาจาง

ทำสีเนกาตีฟดรายบรัชทำด้วยเกรยองสีดำนำมาฝนกับกระดาษทรายเสียก่อน ใช้ภู่กันเบอร์ 4ปัด และคราบเขม่าการยิงก็ใช้สีฝุ่นเช่นกัน


ขั้นตอนการทำสีตีนตะขาบ สีพื้นเดิมที่เป็น Mr.color เบอร์43



ใช้สีเทาเข้มผสมสีเงินทา


ปัดด้วยสีเงินบางๆเฉพาะหน้าและข้างตีนตะขาบ


สีฝุ่นlight dust +drak mud ผสมกันในอัตรา 1:1 ผสมน้ำทาจางๆจนทั่ว

เมื่อสีแห้งจะเป็นคราบ


ใช้ไม้สำลีเช็ดหน้าสายพานให้สีดินให้เหลือติดเฉพาะในซอก



สีขอบล้อยางทาด้วยเทาเข้มอมน้ำตาล





โดยสรุป

วิธีการทั้งหมดนี้ค่อนข้างง่ายต่อการทำตาม ให้ผลดีไม่ต่างจากมืออาชีพเลย วิธีการนี้สามารถยึดไว้เป็นพื้นฐานดัดแปลงใช้ได้กับทุกสีทุกลายพราง ยังผสมกับเทคนิคอื่นได้อย่างกลมกลืน เช่นดีดโคลน แต้มรอยถลอก ส่วนเรื่องของวัสดุก็ดัดแปลงกันตามใจชอบ เช่นสีฝุ่นก็ใช้ของตามท้องตลาดเป็นหลอดราคาถูกก็ได้แต่สีจะแจ๊ดและมีค่าความคงทนต่ำ
(permanent)นานไปสีจะจางลง ยิ่งอยู่ในที่มีความเข้มขนของแสงมากจะจางลงเร็วขึ้น วัสดุขั้นต่ำก็น่าจะใช้เกรยองสีเป็นแบบแท่งเหลี่ยม (มักจะเรียกกันติดปากอย่างผิดๆว่าสีฝุ่นพาสเทลซึ่งหมายความถึงลักษณะเชดสีอย่างหนึ่ง)จะดีกว่า สำหรับตัวผมเองมีทัศนะว่าใช้ของดีหน่อยงานจะได้อยู่ “สวยไปนานๆ”


งานชุดนี้เป็นงานแรกที่เขียนและถ่ายทำการทำสีอย่างละเอียดที่สุดของผม ทำไปก็เหนื่อยไปเพราะต้องขัดจังหวะเอาออกมาถ่ายรูปตลอด ทำงานแล้วขัดๆพิกล หวังว่าความเหนื่อยยากของผมคงจะมีประโยชน์อยู่บ้าง




No comments: