Monday, November 26, 2007

หนังสือคู่มือการทำโมเดล โดย PMCT


เรียบเรียง และ วาดภาพประกอบโดย วิเชียร อภิชาติวรภันธุ์

http://good-times.webshots.com/album/561570119OpySGs

หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือเล่มเล็กขนาดการ์ตูนเล่ม ออกมาเมื่อนานมาแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เนื่องในงานประกวดโมเดลครั้งที่ 7 ซึ่งจัดโดยชมรม PMCT และ ห้างเซ็นทรัล แนวความคิดในการทำหนังสือนี้มีส่วนช่วยอย่างมากมายในการพัฒนาทักษะการทำโมเดลของเด็กๆ แม้กระทั้งผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เพราะในเนื้อหาที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นเป็นเทคนิคขั้นพื้นฐานที่สำคัญ ไม่ว่าผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง เป็นหนังสือที่มีสาระประโยชน์มากแม้ในสมัยปัจจุบัน เป็นเหตุที่ผมนำมาลงอีกครั้งเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ และยังเป็นการไม่หลงลืมคุณค่าของคนรุ่นหนึ่งที่เสียสละตนทำงานเพื่อส่วนรวมอยู่อย่างเงียบ ๆ
.
หนังสือเล่มนี้ผมได้รับมาจาก อ.พินิจ โพธิสุข เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 (ช่วงเรียนม.ปลาย) พอดีไปเห็นอยู่ในกองหนังสือเก่าของอาจารย์ เมื่อเห็นว่าผมไม่มีหนังสือเล่มนี้ อ.พินิจ เลยยกให้ แล้วบอกว่าชมรมของอาจารย์ทำแจกในงานประกวดเมื่อหลายปีก่อน อาจารย์ก็แปลกใจว่าทำไมผมยังไม่มีอีก (ใครๆในสมัยโน้นเขาก็มีกันทั้งนั้น : สำหรับอ.พินิจ ท่านเป็นทั้งผู้สอนวิชาศิลปะ และวิชาโมเดล(นอกหลักสูตร)ให้กับผมตั้งแต่สมัยมัธยม)
.
ภายหลัง 22ปีที่หนังสือเล่มนี้ออกมา เกิดกลุ่มชมรมโมเดลขึ้นมาอีกหลากกลุ่ม บางกลุ่มก็ล้มไปบ้างแล้ว มีกลุ่มใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกเป็นระยะ อย่างไม่น่าเชื่อว่าไม่เคยมีใครคิดทำหนังสือที่ดีแบบนี้ออกมาอีกเลย ?
"
อันนี้มีเป็นประวัติบางส่วนของPMCT http://www.skn.ac.th/skl/project/model83/story1.htm
ไม่ทราบว่าท่านผู้เขียนเป็นใคร แต่คิคว่าน่าจะเป็นการเรียบเรียงบางส่วนมาจากนิตยสาร HobbyModel (เท่าที่นึกออก) หากท่านเจ้าของมาเห็น หรือท่านใดทราบก็ช่วยแจ้งชื่อผู้เขียนมาด้วยจะได้เผยแพร่ต่อไปครับ
"
26/11/05




ส่วนเพิ่มเติม(23/10/10) :ตามท้ายบทความเดิมผมได้อ้างอิงถึงบทความในเวปโดยนักเขียนนิรนามแห่งหนึ่ง

http://www.skn.ac.th/skl/project/model83/story1.htmเพื่อการป้องกันข้อมูลสูญหายในอนาคต ผมเลยยกข้อความเดิมทั้งหมดมาไว้ที่นี้แล้ว มีข้อเขียนดังนี้...

"สำหรับวงการโมเดลไทยนั้น มีเรื่องราวพอสังเขปคือ โมเดลเริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว คือประมาณปี พ.ศ. 2498 โดย

เริ่มจากนักเรียนนอกในสมัยนั้นหอบหิ้วกันเข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย จากปากต่อปากกลุ่มผู้เล่นเริ่มจะใหญ่ขึ้นจนมีโมเดลประเภทพลาสติกประกอบเข้ามาจำหน่าย ปะปนกับของเล่น ซึ่งคงจะแผ่ขยายเข้ามาพร้อมๆกับวัฒนธรรมตะวันตก โดยจะวางขายอยู่ตามร้านขายของเล่นทั่วๆไป ซึ่งไม่มีความละเอียดเท่าไรนัก บางแบบยัง ไม่มีการใส่กล่องแต่จะใสถุงพลาสติกเฉยๆ ต่อจากนั้นจึงค่อยๆแพร่ขยายเข้าสู่ห้างสรรพสินค้านใวลาต่อมา แต่สมัยนั้นถึงแม้จะมีผู้เล่นไม่มาก แต่ก็ยังถือได้ว่าโมเดล หรือชุดจำลองได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยแล้ว วงการโมเดลไทยเริ่มจะเป็นรูปร่างเมื่อปะมาณปี 2519 โดยกลุ่มคนผู้ที่สนใจหลายๆคนที่พบปะกันตามร้านขายโมเดลได้ก่อตังชมรมชุดพลาสติกจำลองแห่งประเทศ ไทย หรือชือย่อว่า PMCT (PLASTIC MODELLER CLUB OF THAILAND) เพื่อรวบรวมกลุ่มผู้สนใจงานอดิเรกประเภทนี้ให้แพร่หลายแก่ผู้สนใจทั่วไป และเพื่อ ยกระดับวงการโมเดลของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับสากล แต่ทว่ายังมีอีกหลายฝ่ายมองว่าโมเดลหรือ พลาสติกจำลองเป็นสินค้าฟุ่มเฟื่อย เป็นของเล่นเสียมากกว่า ที่จะเป็นงานอดิเรก ซึ่งทางชมรม PMCT ต้องต่อสู้ในเรืองนี้เป็นอย่างมาก กว่าจะผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นมาได้ และด้วยความมุ่งมั่นของชมรมนี้ ได้มีการออกหนังสือ โมเดลฉบับแรกของเมืองไทยคือ หนังสือ "โลกจำลอง อันเป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวของการประกอบชุดพลาสติกจำลอง และบทความบทวิจารย์ชุดจำลองต่างๆ มากมาย แต่ด้วยกลไกทางการตลาด หนังสือโลกจำลองของทาง ชมรม PMCT จึงออกได้แค่เล่มเดียวเท่านั้นนอกจากหนังสือโลกจำลองของทาก PMCT แล้ว ทาง ชมรมยังทำหนังสือแนะนำการประกอบพลาสติกจำลองออกมาแจกจ่ายแก่ผู้สนใจทั่วไปอีก 1 เล่ม แต่ปัจจุบันหนังสือสองเล่มนี้หายากมาก และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนั้นเองในปี พ.ศ. 2522 ทางชมรม PMCT ได้เริ่มให้มีการจัดการประกวดชุดพลาสติกจำลองขึ้นเป็ฯครั้งแรกในประเทศไทย โดยการ สนับสนุนของห้างเซ็นทรัลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันถึงแม้ว่าทางชมรมจะไม่ได้เป็นคณะกรรมการแล้ว แต่การประกวดก็ยังคงนำเนินต่อเรื่อยมา ประมาณปี 2529 หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ "สมรภูมิ" อันเป็นหนังสือที่ว่าด้วยข่าวคราวในแวดวงการทหารทั่วโลกได้เปิดคอลัมภ์ "โลกหุ่นจำลอง" และด้วยคอลัภ์โลก จำลองนี้เองเป็นเหตุให้หลายคนหันมาให้คมสนใจเล่นโมเดลกันมากขึ้น จนในเวลาต่อมาหนังสือ"สงคราม" อันเป็นหนังสือแนวเดียวกับสมรภูมิก็ได้เป็นคอลัมภ์เทคนิค ชุดจำลองตามขึ้นมาในภายหลัง ในนเมื่อหลายคนเริ่มให้ความสนใจโมเดลหรือชุดจำลองมากยิ่งขึ้น การจัดงานประกวดและกิจกรรมต่างๆที่ส่งเสริมเกี่ยวกับงานอดิเรกประเภทนี้ได้รับการสนับสนุน จากห้างสรพพสินค้าหลายแห่งและร้านขายโมเดลหลายๆร้านในเวลานั้น แต่ว่าตอนนั้นนานๆทีจะมีสินค้าตัวใหม่ๆมาให้เล่น ต้องอาศัยสั่งซื้อจากทางเมืองนอกหรือไม่ก็ ไปหอบหิ้วมาจากฮ่องกงหรือสิงคโปร์จึงจะได้ของใหม่ๆมาเล่นกัน ในราวๆปี 2594 ห้างธนันต์ได้ทำการรวบรวมสมาชิกและลูกค้าที่รู้จักหลายๆท่าน รวมตัวตั้งกลุ่มที่ชื่อว่า "TPC" (THAI PLASTIC MODEL CLUB) เพื่อช่วยกัน สร้างสรรค์วงการโมเดลในช่วงนั้นให้ดียิ่งขึ้น และยังได้ทำการเข้าจัดทำคอลัมภ์ต่อเนื่องของโลกหุ่นจำลองในสมรภูมิในปีเดียวกันนั่นเอง กิจกรรมที่ TPC และห้าง ธนันต์ได้ร่วมกันจัดตั้งมีอยู่หลายงาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อวงการในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างมาก แต่หลังจากที่สมาชิกทุกคนเห็นว่าภาพพจน์ของกล่ม TCP ในสายตาของบุคคลทั่วไปมองว่า TPC คือกระบอกเสียงของร้านธนันต์ สมาชิกกลุ่ม TPC หลายคนจึงได้ขอแยกตัวออกจากกลุ่มและได้จัดตั้งกลุ่ม SMAC (SCALE MODELLING ART CLUB) หรือสมาคมส่งเสริมศิลปการประกอบชุดพลาสติกจำลองแห่งประเทศไทย ขึ้นในปี 2535 และได้เข้าทำการจัดทำการเรื่อง การประกวดชุดพลาสติกจำลองของห้างเซ็นทรัล ครั้งที่ 13 ต่อจากกลุ่ม PMCT ซึ่งหมดวาระในการเป็นกรรมการในปีเดียวกันนั้นเอง และยังได้เข้าจัดทำคอลัมภ์ โลกหุ่นจำลองในสมรภูมิต่อจากกลุ่ม TPC เดิมอีกด้วย (ปัจจุบันถึงแม้ว่ากลุ่ม SMAC จะสลายตัวไปแล้วแต่สมาชิกกลุ่มบางคนได้กระจายออกไปทำหนังสือโมเดล หลายๆฉบับในปัจจุบันเช่น สมรภูมิ, HOBBY MODEL, A CLUB) ซึ่งในระยะเวลานั้นเองเป็นจุดหักเหของวงการโมเดลยุคใหม่ มีการเกิดของร้านค้าโมเดลมาก มายและประกอบกับมีวัสดุชนิดใหม่สองชนิดที่ถูกทำเป็นโมเดลแพร่หลายเข้ามาในหมู่นักต่อชุดจำลองของเมืองไทย คือ "ซอฟท์ไวนิลและเรซิ่น" วึ่งในตอนนั้น โมเดลทั้งสองชนิดนี้ยังไม่ค่อยจะเป็นที่แพร่หลายมากเท่าไรนัก และสนนราคาในตอนนั้นยังเป็นราคาที่แพงมาก แพงกว่าในเวลานี้เกือบ 10 - 20 เท่าตัว แต่ด้วยการ ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับโมเดลประเภทต่างๆของหลายๆฝ่าย โมเดลทั้งสองประเภทนี้จึงได้ค่อยๆเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ร้านค้าที่หน่ายโมเดลประเภทนี้จุดขายในช่วงระยะเวลานั้นจะอยู่ที่สะพานเหล็กและร้านที่ของของจากต่างประเทศ ซึ่งโมเดลบางแบบยังเป็นของก๊อปปี้ที่ผลิตจาก ไต้หวันและฮ่องกงซึ่งถึงแม้ว่าจะราคาถูกกว่าของแท้ แต่เมื่อนำเข้าในเมืองไทย ก็เห็นว่าเป็นของแปลกและใหม่ ราคาจึงสูงและแพงอย่างน่ากลัว พอดีกับช่วงนั้นมี หนังสือที่เกี่ยวกับโมเดลที่ทำโดยคนไทยออกมาอีกสองเล่มคือ A CLUB และ HOBBY GAME อันเป็นหนังสือโมเดลที่ว่าด้วยเรื่องราวของโมเดลประเภทต่างๆ รวม ไปถึงโมเดลประเภทการาจ คิท, ซอฟไวนิล, เรซิ่นนี้รวมอยู่ด้วย ผนวกกับร้านค้าต่างๆเริ่มนำสินค้าทั้งสองชนิดนี้เข้ามาขายมากยิ่งขึ้น ราคาถึงได้ลดลงในเรื่อยๆ จน ถึงขั้นปัจจุบัน คนไทยสามารถผลิตงานโมเดลจากซอฟท์ไวนิลได้เองแล้ว และบางที่ยังไดสร้างสรรค์งานโมเดลโดยฝีมือคนไทย ตั้งแต่ตั้งเองจนถึงผลิตออกมาเป็น สินค้าออกจำหน่าย วงการโมเดลไทยถ้านับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน วงการโมเดลของเราได้ฟันฝ่าอุปสรรคมาเกือบ 40 ปีแล้ว ถ้าหากมองในแง่ของการเจริญเติบโตทั่งในด้านสินค้าและ ปริมาณคนเล่นนั้น จะเห็นได้ว่าเพิ่มจากเมื่อก่อนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของตัวสินค้าที่ตอนนี้มีให้เลือกเล่นมากมาย หลายชนิดหลายประเภท จากอดีตมีร้าน เพียง 2-3 ร้าน จนถึงปัจจุบันมีมากถึง 60-70 ร้าน ซึ่งยังไม่รวมร้านที่อยูต่างจังหวัด อีกทั้งคนเล่นยังขยายวงกว้างออกไป ไม่จำกัดอยู่ในกลุ่มคนใดกลุ่มคนหหนึ่ง อีกต่อไป แม้ว่ายังมีคนบางกลุ่มมองว่าโมเดลเป็นแฟชั่นที่นิยมเพียงชั่วครู่ชั่วยามไม่จีรังยั่งยืนเหมือนงานอดิเรกประเภทอื่น แต่ถ้ามองกันจริงๆแล้วผู้ที่เล่นเท่านั้น สามารถตอบคำถามนี้ได้ โมเดลไม่ใช่แฟชั่น ไม่ใช่สิ่งเชิดหน้าชูตา แต่เป็นสิ่งที่ทุกษาคนสมัครใจที่จะเลือกเล่นเลือกทำ มิฉะนั้นแล้วระยะเวลาเกือบ 40 ปี คืออะไร 40 ปี ที่วงการโมเดลยืนอยู่ข้างนักเล่นน้อยใหญ่มาจนถึงปัจจุบัน และในอนาคตเราเชื่อว่าวงการโมเดลไทยคงจะไปได้ดีในด้านของผู้เล่นและสินค้าที่ผลิตเอง เราหวังไว้ อย่างนั้น"

No comments: