Saturday, January 19, 2008

เทคนิคการทำฐาน ตอนที่ 1 : ฉากการรบในเมือง

ที่จะนำมาทำให้ดูเป็นตัวอย่างในครั้งนี้ จะเป็นฐานขนาดเล็กสำหรับวางฟิกเกอร์นะครับ แต่สามารถนำไปประยุกต์กับการทำฉากขนาดใหญ่ได้ ซึ่งวิธีการทำก็เหมือนกันครับ แต่อาจจะเพิ่มซากอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆเข้าไปเพื่อให้ดูมีเรื่องราวมากขึ้น (มีโอกาสแล้วจะถ่ายวิธีการทำอาคาร
อย่างง่ายๆมาให้ชมกันอีกทีครับ) อาจจะดูแล้วหลายขั้นตอนหน่อย แต่ลองทำจริงๆแล้วไม่ยากอย่างที่คิดครับ ถ้าอาศัยดูภาพอาคารที่โดนถล่มในช่วงสงคราม และลักษณะของเศษอิฐเศษหินที่กองในเมืองจะยิ่งช่วยได้มากครับ
ลองไปดูกันทีละขั้นเลยครับ

ภาพที่1 เริ่มจากการทำส่วนของฐานไม้กันก่อน ใช้กระดาษชั้นสีเทาๆ หรือบางที่อาจจะเรียกว่ากระดาษแข็งแบบหนาครับ นำมาตัดและต่อให้เป็นกล่องสี่เหลี่ยม จากนั้นบุผิวทั้ง 4 ด้านด้วยไม้บัลซ่า นำไปทาเคลือบผิวไม้ด้วยแชล็คทาไม้ เท่านี้เราก็จะได้ฐานไม้มา 1 อันครับ


ภาพที่ 2 ผมใช้ฝากล่องเก็บของพลาสติก หรืออาจจะใช้พลาสติกชีทมากั้นเป็นกรอบบนพื้นผิวเรียบๆ จากนั้นเทปูนพลาสเตอร์ลงไปแล้วปาดให้เรียบเสมอกับขอบที่กั้นครับ พอแห้งแล้วเราก็จะได้แผ่นปูนเรียบๆ นำ มาตัดตามขนาดที่คิดเอาไว้

ภาพที่ 3 นำปูนที่ตัดไว้ไปวางลงบนฐานไม้ที่เตรียมเอาไว้ จากนั้นแกะลายของพื้นหินและฟุตบาทด้วยปลายมีดหรือปลายเข็มก็ได้ครับตามสะดวก ข้อดีของปูนพลาสเตอร์คือสามารถแกะรายละเอียดได้ง่าย และลักษณะเวลาแตกหักจะเหมือนกับปูนหรือหินจริงๆ



ภาพที่ 4 นำเศษปูนที่เหลือจากการหล่อมาทุบให้แตก เล็กบ้างใหญ่บ้าง วางกองบนฟุตบาทเพื่อจำลองลักษณะของเศษอิฐเศษหินของอาคารที่โดนทำลาย จากนั้นทากาวลาเท็กซ์เพื่อให้ยึดติดกันและโรยด้วยเศษอิฐสีส้มของจริงที่นำมาทุบให้ละเอียด ส่วนเครื่องยนต์ที่นำมาวาง เพื่อให้ฐานนั้นดูมีเรื่องราวและน่าสนใจมากขึ้นครับ (ที่เห็นเป็นเครื่องยนต์ของรถ M151 Ford Mutt ซึ่งเป็นรถที่ใช้ในช่วงสงครามเวียดนาม อยู่กันคนละยุค แต่ผมนำมาใส่เพื่อเพิ่มองค์ประกอบเท่านั้นครับ)
.


ภาพที่ 5 (รูปบน) ลงสีด้วยสีอะครีลิกครับ ถูกและประหยัดดี ทาแยกเป็นส่วนๆเลย ทั้งพื้นสีเทาและกองหินสีทราย ส่วนอิฐก็แดงอมน้ำตาล ซึ่งตอนนี้สีทั้งหมดจะยังดูโดดๆอยู่
ภาพที่ 6 (รูปล่าง) จากนั้น Wash ทั้งหมดด้วยสีน้ำมัน สี raw umber ผสมให้เจือจางด้วย turpentine แล้วทาชโลมให้ทั่ว เข้มบางอ่อนบ้าง แล้วทิ้งให้แห้ง สีทั้งหมดในตอนแรกจะดูกลมกลืนไปในโทนเดียวกัน


ภาพที่ 7 ขั้นสุดท้ายมาแต่งให้ดูเก่าๆคลุกฝุ่นอีกที ด้วย Pigment ของ MIG และสีฝุ่นมาผสมๆกัน ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่ดูแล้วเหมือนซากปรักหักพังมีฝุ่นมีทรายเยอะๆครับ หลังจากนำฟิกเกอร์มาติดแล้วก็นำสีฝุ่นไปปัดตามตัวฟิกเกอร์และธงนาซีด้วยครับ จะได้ดูลุยๆหน่อย จากนั้นพ่นเคลียร์ก็เรียบร้อยครับ
.




.

No comments: