Monday, August 8, 2016

CMP 15cwt "Kubel" part 4

โมเดลนี้ชิ้นส่วนหลักจะหล่อออกมาชิ้นเดียวเป็นกล่องเลยทำให้ลดชิ้นส่วนย่อยๆลงได้มาก แต่ข้อเสียคือรายละเอียดจะหายไปมาก จะดีกับพวกยุทธยานยนต์ตัวหายากที่มีข้อมูลน้อยๆ คือไม่สามารถรู้รายละเอียดจริงของยุทธยานยนต์ จึงไม่สามารถใส่รายละเอียดลงไปในโมเดลได้นั้นเอง

ชิ้นแรกที่ทำการประกอบลงไปคือชิ้นท้ายรถเป็นแผ่นใหญ่เต็มท้าย ส่วนรอยประกบอยู่เข้ามาในชิ้น จึงต้องทำการอุดขัดทั้งแนว


กลเม็ดการประกบของผมคือให้ส่วนที่ปะ(ฝานอก)เยื้องมาด้านบนเล็กน้อย เพื่อให้เกินมาปาดออกจะลดการอุดลงได้มากขึ้น แนวประกอบจะเป็นเงามันที่เกิดจากซุปเปอร์กลู


มองมุมนี้จะเห็นแนวฝาหลังสูงกว่าเล็กน้อย ในงานสูงไม่ถึง 0.2 มิล เล็กน้อยก็จริงแต่สามารถลดเวลาทำงานของเราได้เป็นชั่วโมง


ส่วนที่เกินใช้อาร์ทไนฟตัดออก แต่แค่ในระดับเกือบถึงที่ต้องการ(ห้ามตัดพอดี เพราะโอกาสจะกินเนื้องานมีมาก (เอาแค่พอใกล้ๆ)

มีคนเคยถามทำไมต้องอาร์ทไนฟ คัตเตอร์ธรรมดาไม่ได้หรือ? จริงคัดเตอร์ก็สามารถ แต่หัวมันจะคล่อนกว่าและการจับมีดไม่นิ่งเท่าอาร์ทไนฟ ในที่นี้ผมเข้าใจว่าคนที่ถามไม่เคยใช้อาร์ทไนฟ ถ้าเขาเคยใช้จะรู้เลยว่ามันจับได้นิ่งกว่า งานเนี้ยบๆ บางทีต้องออกแรงตัดเยอะ การใช้อาร์ทไนฟส่งแรงตัดได้ดีกว่ามาก



แนวรอยประกบหลังตัดออกใกล้เคียงแล้วผมใช้ตะใบหางหนู(ตะไปจิ๋วหรือสุดแล้วแต่เราจะเรียกกัน) เอาแบบแบน ขัดแบบกด-ปาดออกให้ได้แนว ข้อสำคัญพยายามปาดเท่าที่จำเป็นอย่าไปกินเนื้อที่ได้ระดับอยู่แล้ว ตะใบหยาบมันจะทำให้ผิวเสียหายมาก(คือหยาบขึ้นเป็นเส้นเลย)


แนวหลังปาด(ขัด)ด้วยตะไบได้ระดับแล้ว  
แนว A คือแนวที่เราลงกระดาษทราย 300-600 ก็จะเรียบสนิท
แนว B คือแนวที่ปาดไปแล้วยังเกิดรอยแหว่งอยู่ คือต้องอุดเพิ่มเพื่อให้ผิวสนิท ในกรณีนี้ผมใช้การอุดด้วยซุปเปอร์กลูเลย



เมื่อชิ้นส่วนเข้าที่แล้วก็ได้มาตรวจดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง ในที่นี้ผมทำการตรวจแนวฉากทั้งแนวดิ่งและแนวระดับ เมื่อดูก็จะมองเห็นปัญหาแล้วว่าชิ้นส่วนมีจุดที่เกิดการบิด ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าช่างขึ้นแบบโมเดลต้นแบบทำมาเบี่ยวแต่แรกหรือก็ช่วงกระชากจากพิมพ์
แนวเส้นสีเขียว OK =งานได้ระดับ
แนวเส้นสีแดง =งานไม่ได้ระดับ

ในคราวหน้าผมก็จะมีวิธีการแก้ไขมาให้อ่านกันครับ

No comments: